29 ธันวาคม 2558

ยกเกาะโลว์คาร์บอน...มาทองหล่อ

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) เชิญผู้สนใจ เข้าร่วมงาน ยกเกาะโลว์คาร์บอน....มาทองหล่อ



งานที่ทำให้คุณได้ตื่นตาตื่นใจไปกับครั้งแรกในการยกหมู่เกาะช้างมาอยู่บนถนนทองหล่อ ตื่นตาตื่นใจไปกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อย่างยั่งยืน ในตรีม Castaway โอกาสนี้ขอเรียนเชิญผู้สนใจทุกท่านร่วมงาน “ยกเกาะ....มาทองหล่อ”  ในวันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 14.30 - 17.00 น. ณ Root Garden ทองหล่อซอย 3 พบกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ

ผู้ประกอบการเกาะหมาก เปิดตัวแคมเปญลดทั้งเกาะ “Low Carbon Happy Hours” ในช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. ชวนนักเดินทางไปร่วมสนุกชิวๆ กับกิจกรรมโลว์คาร์บอน ลดราคา 20% กับ ร้านอาหาร ปั่นจักรยาน เรือใบ ดิสกอลฟ์ ร้านค้า ร้านกาแฟ บาร์ ฯลฯ

เปิดตัวกิจกรรม “Castaway” เปิดประสบการณ์ หากบล็อกเกอร์ติดเกาะ ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์จะเกิดอะไรขึ้น พบกับประสบการณ์ท่องเที่ยวโลว์คาร์บอนสนุกสุดเหวี่ยงจากบล็อกเกอร์ เมื่อได้ไปดำน้ำเรือรบหลวงช้าง ณ ช้าง, แล่นเรือใบทะเลตราด, ปั่น ปั่น เกาะหมาก, ชิมเมนูโลว์คาร์บอน

การแสดงโชว์ละครหน้าขาว “พิง ลำพะเพิงผู้กำกับภาพยนตร์อารมณ์ดี

ชม ชิม ชิล ตราดแท้ๆ สไตล์โลวคารบอน

Castaway Attendant การนำเสนอผลสำเร็จโครงการต่อยอดภาพลักษณ์ Low carbon destination และบูทประชาสัมพันธ์สินค้าท่องเที่ยวจากส่งตรงจาก จ.ตราด สไตล์แบรนด์โลว์คาร์บอน อาทิ ปลาอินทรีย์เค็ม และน้ำมันมะพร้าว 

Castaway Cocktail Snack แนะนำเมนูโลว์คาร์บอน วัตถุดิบปูม้าสดๆ จากชุมชนแหลมกลัด แหล่งอาหารทะเลที่สมบูรณ์ที่สุดของอ่าวตราด พร้อมโชว์การปรุงอาหารค็อกเทลจากเชฟบิลจากเกาะช้าง “ชนทัช กาญจนกิตติกูล” ผู้ท้าชิงเชฟกระทะเหล็ก เชฟรุ่นใหม่หัวใจโลว์คาร์บอน และเจ้าของร้านอาหาร Chef Bill Restaurant

Castaway Low carbon Package พบกับแพ็คเก็จท่องเที่ยวโดย สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด และผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวร่วมกับองค์กรท้องถิ่น ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่มีทั้งมิติด้านการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ การท่องเที่ยวเชิงสร้างสร้างสรรค์ การสื่อสารเรื่องราวดีๆ ของแหล่งท่องเที่ยว และการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ในการสร้างสรรค์กิจกรรมการท่องเที่ยว และเปลี่ยนแปลงวิถีของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไปสู่การลดการใช้พลังงาน 

Castaway Charity ศูนย์อนุรักษ์ทางทะเล จาก เกาะหวายปะการัง รีสอร์ท จังหวัดตราดเชิญร่วมแสดงพลังฟื้นฟูทะเลไทยเพิ่มจำนวนธนาคารปะการัง (Coral Bank) ด้วยการสมทบทุนบริจาคเงินในการปลูกปะการังเพื่อฟื้นฟูทะเลตราดเขียวมรกต ณ เกาะหวาย 

Castaway Community ชุมชนแหลมกลัดสาธิตแม่ปูม้าสลัดไข่ และโมเดลหญ้าเทียม แหล่งธนาคารปูม้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ใช้โซล่าเซลล์ และแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำด้วยหญ้าทะเลเทียมที่กลายเป็นแหล่งอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของทะเลอ่าวตราด 


# # # #

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
สำนักงานพื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง คุณจินตนา  สิงหเทพ 086-316381
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม www.ismed.or.th
สุทธิวรรณ อมาตยกุล 082 450 2635 และ คุณอัญชรี พรหมสกุล 082 450 2613
สื่อมวลชนสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:
คุณไอยย์รัศ สิทธิพูล (โน้ต) โทร. 085 966 4156 aiyaras@notab

23 ธันวาคม 2558

Creative CSR for Low Carbon Society รองรับ CSR สร้างมูลค่าเพิ่มสู่ CSV


อพท.1 ชูบทบาทศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในตราด รองรับ CSR สร้างมูลค่าเพิ่มสู่ CSV



องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกับ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) จัดกิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society ริเริ่มบทบาทการเป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดตราด และพัฒนาโปรแกรมหลักสูตรการศึกษาดูงานให้กับทีม CSR จากกลุ่มบริษัทเอกชนต่างๆ ที่มีความสนใจด้านการดูและทรัพยากรใต้ทะเลและการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

กลุ่ม Creative CSR for Low Carbon Society ถ่ายภาพร่วมกัน


ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้พัฒนาส่งเสริมภาคีเครือข่ายมากว่า 10 ปี ในการสร้างเสริมกระบวนทัศน์การท่องเที่ยวสไตล์โลว์คาร์บอนในพื้นที่หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยงให้กับภาคีเครือข่าย ดังนั้นเพื่อการปรับเข้าสู่บทบาทใหม่ขององค์กร จึงได้ริเริ่มการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งได้จัดกิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society ในวันที่ 18 – 20 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา ณ เกาะหมาก เกาะหวาย จังหวัดตราด ประสบความสำเร็จอย่างมาก หวังสร้างเครือข่ายบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทยให้รับรู้บทบาทใหม่ของ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและร่วมสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกับชุมชนในพื้นที่หมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง



กิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society มีกระบวนการสร้างความคิดใหม่ๆ ด้านการพัฒนาพื้นที่ที่ใช้สำรวจในการศึกษาดูงานประกอบด้วยกระบวนการการสร้างเครือข่ายอย่างสร้างสรรค์ (Creative Network), กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Creative Activity) และการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (Creative Solution) โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากบริษัทเอกชนต่างๆ ได้แก่ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด, บริษัท พี.เอฟ.พี เทรดดิ้ง จำกัด, บริษัท ไทยสมุทรประกันภัย จำกัด (มหาชน), Green Globe, เดอะ เลกาซี่ ริเวอร์แคว์ รีสอร์ท กาญจนบุรี โดยกิจกรรมในช่วงท้ายได้มีการนำเสนอโมเดลการทำกิจกรรมเพื่อสังคมร่วมกับคนในชุมชนเกาะหมาก เน้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้มีความยั่งยืน 

การเดินทางไปยังจังหวัดตราด

เวิร์คช้อปทำหญ้าทะเลเทียมสำหรับเป็นบ้านของพันธุ์สัตว์น้ำ ณ ชุมชนแหลมกลัด จ.ตราด

ปล่อยปูม้าไข่ ณ ชุมชนแหลมกลัด จ.ตราด

นำหญ้าทะเลเทียมลงสู่ทะเล
  
 นายธนันธน์ อภิวันทนาพร ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจต่างประเทศและการตลาด สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า กิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society นำเสนอโปรแกรมที่เปิดประสบการ์ณผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้เข้าถึงความต้องการของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่สำคัญคือ ชุมชนแหลมกลัด ตั้งอยู่ในตำบลแหลมกลัด อ. เมือง จ. ตราด ชุมชนประมงที่ประสบปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรอาหารใต้ทะเลเนื่องจากภาวะโลกร้อน อาชีพประมงหาสัตว์ทะเลได้ยากขึ้น ดังนั้นชุมชนแหลมกลัดจึงได้จัดธนาคารปูม้าในการคืนแม่พันธุ์ปูม้ากลับสู่บ้านเกิดเพื่อต่อวงจรชีวิตของปูม้าให้เพิ่มทวีคูณขึ้น และคิดค้นนวัตกรรมหญ้าทะเลเพื่อสร้างบ้านใต้ท้องทะเลให้กับสัตว์น้ำต่างๆ ได้อาศัยอยู่เพื่อทดแทนหญ้าทะเลที่เสียหายไปเนื่องจากภาวะโลกร้อน ภายในกิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society ได้มีการปล่อยแม่พันธ์ุปูม้าลงสู่ทะเล และปลูกหญ้าทะเลเทียมเพื่อแสดงเจตจำนงการร่วมฟื้นฟูบ้านปลาสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำ เพื่อให้ชุมชนแหลมกลัดยังคงเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญบริเวณปากอ่าวจังหวัดตราด ซึ่งหล่อเลี้ยงอาหารทะเลให้กับประเทศไทย 






ในขณะที่ เกาะหวาย ปะการัง รีสอร์ท จังหวัดตราด จัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ทางทะเล ได้ริเริ่มในการทำกิจกรรมการปลูกปะการังด้วยการจัดตั้งธนาคารปะการัง (Coral Bank) เพื่อทดแทนปะการังที่ลดน้อยลงไป โดยปะการังที่ได้ปลูกในแปลงเพาะปะการัง ณ ด้านหน้าเกาะหวาย ปะการัง รีสอร์ท จะเติบโตและนำไปขยายพันธุ์ยังแหล่งทะเลในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ภายในกิจกรรม Creative CSR for Low carbon Society ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีการปลูกปะการัง โดยมีวิทยากร คุณวิกรม ภูมิผล มูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์โดยความอุปถัมภ์ของ บมอ. วีนิไทย ให้ความกระจ่างในเรื่องความสำคัญของการปลูกปะการังเพื่อเป็นบ้านปลาต่อไป เนื่องจากปัจจุบันนี้ภาวะโลกร้อนได้ส่งผลกระทบให้ปะการังเกิดการฟอกขาวมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล 




 นายจักรพรรดิ ตะเวทีกุล นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตราด และผู้บริหารเกาะหมาก รีสอร์ท กล่าวว่า ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะหมาก ต้องการให้บริษัทเอกชนในประเทศไทยได้รู้จักพื้นที่ท่องเที่ยวในหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมที่เป็นการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนเกาะหมาก อันจะนำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าของ องค์กรและชุมชนร่วมกัน




 คุณอัญชลี จันทร์คง นักวิชาการประมงชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก  กล่าวว่า ทางหน่วยงานได้ทำการสำรวจทรัพยากรใต้ทะเลในพื้นที่หมู่เกาะช้างและหมู่เกาะเชื่อมโยง และพบว่า หมู่เกาะรัง และเกาะหมาก มีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์มาก ซึ่งมีทั้งป่าชายเลน (Mangrove forest) หาดทราย (Sandy beach) และหาดโขดหิน (Rocky beach) ประกอบไปด้วยแนวปะการังกว่า 8,555 ไร่, หญ้าทะเล 896 ไร่ สาหร่ายทะเล และสัตว์ทะเลจำพวกปลา 85 ชนิด กุ้ง 35 ชนิด ปู 31 ชนิด หอย 100 ชนิด ฟองน้ำทะเล 25 ชนิด เอคไคโนเดิร์ม 25 ชนิด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่กิจกรรมการท่องเที่ยว จะต้องเป็นไปในแนวทางการอนุรักษ์พื้นที่ที่มีความสมบูรณ์อยู่แล้ว และพื้นที่ที่ทรัพยากรใต้ทะเลเริ่มจะสูญเสียความสมบูรณ์ เพื่อรักษาให้สภาพพื้นที่หมู่เกาะช้างและหมู่เกาะเชื่อมโยงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืนต่อไป